- Home I หน้าแรก l
- ข่าว และ บทความ
- ข่าว l News
- บทความ l Articles
- บทวิเคราะห์
- บทวิเคราะห์สถานการณ์ โลก
- บทความศาสนา
- ครรลองอิสลาม
- ศาสนบัญญัติ
- ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
- เส้นทางสู่อิสลาม
- กุรอานและฮะดีษ
- หนังสือ-วารสาร
- นะญุลบาลาเฆาะฮ์
สตรีซึ่งเมื่อวานชื่อ “ไดอาน่า” แต่วันนี้เธอชื่อ “ฮาญัร” คือสตรีคริสเตียนผู้หนึ่งที่เข้ารับสายธารชีอะฮ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เธอได้กล่าวถึงความรู้สึกของเธอที่มีต่อท่านอิมามฮุเซน (อ.)
ตามการรายงานของสำนักข่าวฟาร์ส : เว็บไซต์ค่อบัรออนไลน์ได้เขียนว่า “ไดอาน่า แทรงโก้” กำเนิดมาในครอบครัวคริสเตียนในรัฐเท็กซัส ขณะที่เธอมุ่งมั่นอยู่กับการทำงานเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ซึ่งในช่วงนั้นเธอได้รู้จักกับศาสนาอิสลาม ภายหลังจากการอ่านและการศึกษาค้นคว้า ทำให้เธอตัดสินใจเลือกศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของเธอ ขณะอายุยี่สิบ เธอกำลังศึกษาอยู่ที่อเมริกาในระดับปริญญาโท สาขาการสื่อสารนั้น กระแสคลื่นแห่งการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ทำให้เธอเดินทางออกจากอเมริกามุ่งสู่ยุโรป เพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิสลาม หลังจากนั้นเธอเดินทางเข้าสู่ประเทศอิหร่าน และเริ่มต้นชีวิตของเธอในเมืองกุม
หลังจากการศึกษาและค้นคว้าวิจัยในระดับสูงยิ่งขึ้น เธอได้เดินเข้าสู่กรุงเตหะราน วันนี้ชื่อของเธอคือ “ฮาญัร ฮุซัยนี” คริสเตียนผู้เข้ารับอิสลามผู้นี้ ได้กล่าวว่า : ในเส้นทางของการค้นคว้าวิจัยของเธอนั้น เธอได้รู้จักสถานภาพของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และเป็นไปตามคำพูดของเธอ นั่นคือจุดพลิกผันสูงสุดทางด้านความคิดและจิตวิญญาณของเธอ
เธอเล่าเกี่ยวกับตัวเองว่า “ดิฉันกำเนิดมาในครอบครัวคาทอลิก เป็นครอบครัวหนึ่งที่เคร่งครัดและให้ความสำคัญต่อหลักการต่างๆ ของศาสนา ตลอดเวลาดิฉันมีความสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาต่างๆ และมุ่งแสวงหาความจริงทางด้านจิตวิญญาณ ในช่วงอายุสิบแปดปี ดิฉันตัดสินใจเดินทางจากอเมริกาไปยังยุโรป เพื่อที่จะตามหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นความปรารถนาของตนเองในยุโรป แต่ในการเดินทางครั้งนั้น ดิฉันได้พบว่าไม่มีความแตกต่างอะไรเลยระหว่างอเมริกาและยุโรป ทุกคนต่างจมปักอยู่ในเรื่องของวัตถุนิยม ช่วงเวลาที่ดิฉันอยู่ในยุโรปเป็นช่วงเวลาเดียวกับการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ในช่วงเวลานั้นดิฉันเพิ่งรู้จักกับศาสนาอิสลาม แต่ดิฉันยังไม่มีโอกาสที่จะศึกษาวิจัยอย่างจริงจังและลึกซึ้งมากขึ้นไปกว่านั้น”
ฮาญัร ฮุซัยนี กล่าวเสริมว่า “ช่วงเวลาของการปฏิวัติในอิหร่านนี้เองที่กลายเป็นสาเหตุทำให้ผู้ปฏิบัติตามศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระสันตะปาปามีการสนทนากับชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับอายะตุลลอฮ์โคมัยนี (ร.ฮ.) ในยุโรปนั้นสมเด็จพระสันตะปาปามีการจัดประชุมอภิปรายร่วมกับชาวชีอะฮ์ของอิหร่านจำนวนหนึ่งหลายครั้ง ด้วยความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าที่ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมในการประชุมเหล่านั้นด้วย เราได้พูดคุยและอภิปรายกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับศาสดาของอิสลาม แนวทางของท่านและแนวทางของบรรดาศาสดาในอดีตรวมทั้งหลักการศรัทธา (อุซูลุดดีน) ในเชิงการเปรียบเทียบระหว่างอิสลามกับศาสนาคริสต์ จนกระทั่งเนื้อหาของการอภิปรายและการพูดคุยของเราได้ดำเนินมาถึงประเด็นของการปฏิวัติของอิหร่านด้วยเช่นกัน
ดิฉันจำได้ว่าในที่ประชุมมีการกล่าวถึงอิหร่านว่า ท่านอิมามโคมัยนีได้ทำปฏิวัติโดยมิได้ใช้อาวุธ การปฏิวัตินี้เริ่มต้นขึ้นจากใจของประชาชนเองและดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง
ในการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษาวิจัยของเธอและการเผชิญหน้ากับประเด็นของท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น เธอกล่าวว่า “ในอิหร่าน ส่วนใหญ่ดิฉันพยายามที่จะเข้าร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา และดิฉันมีความพยายามอย่างจริงจังที่จะเข้าร่วมในทุกพิธีกรรมที่เกี่ยวกับท่านอิมามฮุเซน (อ.) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่านอิมาม เคียงข้างพิธีกรรมเหล่านี้ มีสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับดิฉัน คือการทำความรู้จักกับบุคลิกภาพของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระดับโลก ขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้และเจตนารมณ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในการฟื้นฟูสัจธรรมและความจริง ท่านได้พลีทุกสิ่งเพื่อทำให้รากฐานของศาสนาและข้อเท็จจริงแห่งมนุษย์ถูกรักษาไว้
ในประเด็นนี้มีมิติต่างๆ ทางด้านแนวคิดและเหตุผลทางสติปัญญาที่น่าประทับใจแฝงอยู่ เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดิฉันได้เข้ารับอิสลามก็คือสิ่งนี้ แบบอย่างและแนวทางต่างๆ ที่มีอยู่ในอิสลามนั้น ในศาสนาคริสต์ไม่มีเช่นนี้ ชาวคริสต์เชื่อว่า มะซีห์ (พระเยซู) บุตรของพระเจ้า ได้มายังโลกและถูกฆ่าเพื่อไถ่บาปแทนพวกเขา ปัญหาต่างๆ ที่ในศาสนาคริสต์หาคำตอบไม่ได้ แต่ศาสนาอิสลามสามารถตอบปัญหาเหล่านั้นได้ทั้งหมด”
สตรีผู้ซึ่งก่อนหน้านี้มี่ชื่อว่า“ไดอาน่า” แต่วันนี้เธอชื่อ “ฮาญัร” คือคริสเตียนผู้หนึ่งที่เข้ารับสายธารชีอะฮ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เธอได้กล่าวถึงความรู้สึกของเธอที่มีต่อท่านอิมามฮุเซน (อ.) ว่า “ข้อเท็จจริงของมัน ดิฉันไม่สามารถที่จะตอบคำถามนี้ได้ คุณเองสามารถที่จะอธิบายเป้าหมายสูงสุดของความจริงได้อย่างนั้นหรือ? ท่านอิมามฮุเซน (อ.) คือจุดสูงสุดของความจริง”