- Home I หน้าแรก l
- ข่าว และ บทความ
- ข่าว l News
- บทความ l Articles
- บทวิเคราะห์
- บทวิเคราะห์สถานการณ์ โลก
- บทความศาสนา
- ครรลองอิสลาม
- ศาสนบัญญัติ
- ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
- เส้นทางสู่อิสลาม
- กุรอานและฮะดีษ
- หนังสือ-วารสาร
- นะญุลบาลาเฆาะฮ์
นักปรัชญาทางการเมืองตะวันตกในยุคปัจจุบันได้เสนอระบอบสังคมที่เชื่อว่าเหมาะที่สุดสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ นั่นคือ การสร้างสังคมอารยะ เป็นการปกครองโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วมหรือเรียกว่า “ประชาสังคม”
ประชาชนเป็นเจ้าของสังคมร่วมกัน โดยแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสถาบันการเมือง สถาบันเอกชน สถาบันศาสนา เป็นสังคมอารยะที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยอยู่ในลักษณะของพหุนิยม ไม่แบ่งแยกสีผิว ภาษา ศาสนาและลัทธิ
เป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยตรากฎหมายและหลักนิติรัฐที่ยืนอยู่บนความเป็นจริงและตามบริบททางการเมืองและสังคม ซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์เฉพาะตัวหรือเป็นแบบที่ตายตัว
นักปรัชญาการเมืองปัจจุบัน เห็นว่ามนุษย์จะดีได้เพราะอาศัยการเมือง เพราะมนุษย์ถือว่าความปรารถนาที่จะมีชีวิตรอดต่างหากที่เป็นรากฐานสำคัญที่สุดของความยุติธรรมและศีลธรรม
และพวกเขาเห็นว่ามนุษย์จะมีการปกครองระบอบใดก็ได้ ขอให้รัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมให้พลเมืองแต่ละคนเห็นแก่ตัวภายใต้ขอบเขตแห่งบทบาทของตนเท่านั้น นั่นคือให้แต่ละคนพยายามแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนให้มากที่สุด แต่จะต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
ผู้คุมอำนาจเด็ดขาดหรือผู้ปกครองได้มาโดยการเลือกของประชาชน จะโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็แล้วแต่ระบอบ โดยผู้เสนอตัวรับการคัดสรรต้องมีคุณธรรมทางสังคม แต่จะได้มาตรฐานทางศาสนาและศีลธรรมหรือไม่ ไม่จำเป็น ด้วยระบบนี้คนอย่างโดนัลด์ ทรัมป์จึงสามารถได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้
ในฝ่ายอิสลาม มีผู้นำเสนอทฤษฎีปรัชญาทางการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ นั่นคือ “อบูนัศร อัลฟารอบี” (ค.ศ. 872-950) ดังนี้
อัลฟารอบี กล่าวอีกว่า นครแห่งอารยะประกอบด้วย
ก. ผู้นำที่ทรงธรรม ทรงความรู้และเป็นปราชญ์
ข. ประชาชน เป็นกลุ่มคนที่มีศีลธรรม
ค. เป็นระบอบการเมืองที่ใสสะอาด โดยผ่านองค์ความรู้ที่มาจากวิวรณ์ของพระเจ้า มีความสมบูรณ์ทางกายภาพและจินตภาพ โดยเน้นความสุขทั้งโลกนี้และปรโลก
โดยใช้หลักนิติรัฐนิติธรรม ผ่านกระบวนการคิดเชิงปรัชญาและคำสอนหลักการปกครองตัวแทนของพระเจ้า
บทบาทอันโด่งดังของฟารอบีย์ คือการนำเสนอปรัชญาเรื่องอุตมรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นคำสอนที่แหลมคมและน่าสนใจทีเดียวของปรัชญาฟารอบี และถือว่านักปรัชญาในยุคต่อมาได้นำทฤษฎีทางปรัชญาการเมืองนี้มาอรรถาธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง “นครแห่งอารยะ” หรืออุตมรัฐ ที่ฟารอบีย์ได้กล่าวไว้
อัลฟารอบี กล่าวถึงเรื่อง “นครแห่งอารยะ” (المدينة الفاضلة) หรืออุตมรัฐในปรัชญาการเมืองของเขาไว้ว่า “ระบอบการเมืองที่มีคุณธรรมคือ การนำพาความดีงามไปสู่ประชาชนและนำมนุษยชาติสู่เป้าหมายของการสร้างคือความสันติสุขที่แท้จริง ซึ่งการไปสู่ความผาสุกและสันติสุขนั้นจะเกิดขึ้นมาเองมิได้ นอกจากผ่านระบอบการเมืองและการปกครองที่มีคุณธรรม (ธรรมารัฐ) เท่านั้น อีกทั้งจะนำพลเมือง ประชาชนไปสู่ความดีงามทั้งโลกนี้และปรโลก”
อิหร่านกำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้โดย
และคงจะมีทยอยลงสมัครรับเลือกตั้งอีกจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสังเกตคืออายะตุลลอฮ์ซัยยิดอิบรอฮีม รออิซี ทำท่าจะมาแรงตั้งแต่ต้น เฉพาะเมื่อวานนี้ที่มาลังสมัครรับรับเลือกตั้ง ก็มีกองทัพนักข่าวและประชาชนจำนวนมาก กว่าจะฝ่าฝูงชนเข้าสู่สำนักงานการเลือกตั้งได้ก็เล่นเอาเหนื่อย
ทั้งประธานาธิบดีฮาซัน รูฮานี และอายะตุลลอฮ์ซัยยิดอิบรอฮีม รออิซี ต่างก็เป็นนักการศาสนา ทั้งสองคนถูกหล่อหลอมมาในบรรยากาศการเมืองภายหลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน
ถึงแม้ว่าแนวทางทางการเมืองของทั้งสองคนจะต่างกันก็ตาม กล่าวคือ ดร. ฮาซัน รูฮานีจะกระเดียดไปทางกลุ่มปฏิรูป แต่ซัยยิดอิบรอฮี รออิซีจะอยู่ในฝ่ายอนุรักษ์
แต่สิ่งที่จะพูดถึงคือปรัชญาและแนวทางการเมืองตามทฤษฎีอุตมรัฐหรือนครแห่งอารยะ ตามคำนิยมของอัลฟารอบี กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน นั่นคือผู้นำของนครแห่งอารยะต้องเป็นนักปราชญ์
ปัจจุบันอายะตุลลอฮ์ซัยยิดอะลี คาเมเนอี เป็นผู้นำสูงสุด ซึ่งตัวท่านเองเป็นนักปราชญ์ระดับสูงของอิสลามอยู่แล้ว ถ้าหากว่าอายะตุลลอฮ์ซัยยิดอิบรอฮีม รออิซี ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี โครงสร้างทางการเมืองด้านบนของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านก็จะเป็นไปตามทฤษฎีของอัลฟารอบีอย่างสมบูรณ์
สถาบันการสอนวิชาการศาสนาในอิหร่านมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 1,500 แห่ง มีนักศึกษาศาสนาทั้งสิ้น 150,000 คน สถาบันเหล่านี้เองที่จะผลิตบุคคลากรออกมาเพื่อเป็นตัวเลือกในการดำรงตำแหน่งผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอิหร่านในระบบวิลายะตุลฟากิฮ์อย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่อีกฟากหนึ่ง จะเห็นว่าตัวเลือกในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศกลับมีคุณภาพลดต่ำลง และคงจะมีแนวโน้มลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามธรรมชาติของระบบเซคิวลาร์ที่แยกการเมืองการปกครองออกจากศาสนา และศาสนาถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตของผนังโบสถ์วิหารและมัสยิดเท่านั้น
ลักษณะเช่นนี้ ถ้าหากดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ฟากที่เคยได้รับการขนานนามว่าเป็นฝ่ายธรรมะ เป็นตำรวจโลก เป็นผู้คุมกฎเกณฑ์และกลไกทางการเมืองของโลก ก็จะกลายเป็นฝ่ายอธรรม ฝ่ายผู้ร้าย เป็นมาเฟียที่สร้างความปั่นป่วนให้มนุษยชาติ โดยอีกฝ่ายหนึ่งที่เมื่อก่อนถูกมองว่าเป็นฝ่ายมาร เป็นผู้ก่อการร้าย เป็นนักเลงจอมเกเร จะเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นฝ่ายธรรมะ ผู้รักษาสันติภาพของโลก ในสายตาประชาคมมนุษยชาติแทน
ปรากฏการณ์นี้กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น เป็นที่ระทึกดวงหฤทัยของคอการเมืองโลกเป็นอย่างยิ่ง!