- Home I หน้าแรก l
- ข่าว และ บทความ
- ข่าว l News
- บทความ l Articles
- บทวิเคราะห์
- บทวิเคราะห์สถานการณ์ โลก
- บทความศาสนา
- ครรลองอิสลาม
- ศาสนบัญญัติ
- ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
- เส้นทางสู่อิสลาม
- กุรอานและฮะดีษ
- หนังสือ-วารสาร
- นะญุลบาลาเฆาะฮ์
รู้หรือไม่ว่า... ตุรกีได้รับการแจ้งเตือนว่าจะเกิดการรัฐประหารจากรัสเซีย และได้รับคำแนะนำจากอิหร่านให้นำผู้สนับสนุนออกมาตามท้องถนนเพื่อขวางคณะรัฐประหาร ...และสองปัจจัยนี้ทำให้ผู้นำตุรกีรอดตายอย่างหวุดหวิด
ล่าสุด ปธน.ซีเรีย กล่าวอย่างลูกผู้ชายว่า แม้สถานการณ์ปัจจุบันจะบ่งชี้ว่าตุรกีสั่นคลอน แต่เราจะไม่หนุนให้ใครทำลายตุรกี (เหมือนที่บางคน? เคยหวังจะโค่นเรา)
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นทั้งที่ในอดีต ตุรกีเคยยิงเครื่องบินรบรัสเซียตก และเคยหนุนกบฏให้คว่ำรัฐบาลซีเรีย และต้านกองกำลังที่อิหร่านสนับสนุนในซีเรียมาโดยตลอด
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลตุรกีจะหันมาจับมือเพื่อนบ้าน เพื่อคว่ำอิทธิพลศัตรูโพ้นทะเลอย่างมะกัน เพราะดูแนวโน้มแล้ว เชื่อว่ามะกันไม่มีทางส่งตัว “กุเลน” ศัตรูคู่อาฆาตให้ตุรกีอย่างแน่นอน
จะว่าไปแล้ว รากฐานวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของตุรกีและอิหร่านแทบจะแยกกันไม่ออก แม้จะมีนิกายต่างกัน แต่บรรพบุรุษเติร์กออตโตมาน (เผ่าโอกุซ) ก็เคยอาศัยอยู่ในอิหร่านก่อนจะช่วยอัลบ์ อัรสะลาน (สุลต่านเติร์กเซลจุก) ตีไบแซนไทน์ในเอเชียไมเนอร์สำเร็จ ทำให้เผ่าเติร์กตั้งหลักแหล่งในตุรกีปัจจุบัน
หนึ่งในภาษาราชการของออตโตมานก็คือเปอร์เซีย วรรณกรรมออตโตมานก็เป็นเปอร์เซีย ปัจจุบันอิหร่านและตุรกียกย่องนักกวีคนเดียวกันอย่างเมาลานา ญะลาลุดดีน รูมี
ในอดีต ทั้งออตโตมานตุรกี และซาฟาวิดที่เถลิงอำนาจในอิหร่านก็เป็นเติร์กเหมือนกัน เลื่อมใสในแนวทางซูฟีเหมือนกัน เพียงแต่ในภายหลังซาฟาวิดเชื่อมซูฟีเข้ากับหลักนิติศาสตร์ชีอะห์เพื่อใช้กฏหมายปกครองอิหร่าน (ซึ่งทำให้เกิดสงครามเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน แต่จริง ๆ แล้วก็เป็นเรื่องการเมืองมากกว่า)
แม้กระทั่งหลังจาก เคมาล อตาเติร์ก โค่นออตโตมานลง ก็เผอิญตรงกับยุคของเรซาข่าน ปาเลวี เผด็จการที่เลียนแบบเคมาลิสม์มาแทบทุกกระเบียดนิ้ว โดยเฉพาะการต่อสู้กับภาพลักษณ์ทางศาสนา
หลังจากอิหร่านปฏิวัติ นักอิสลามนิยมทางการเมืองในตุรกีอย่าง นัจมุดดีน อัรบาคาน อดีตนายกตุรกี (ที่ภายหลังถูกทหารปฏิวัติ) ก็เคยมาเยือนอิหร่านและเข้าพบผู้นำสูงสุดอิหร่าน
ช่วงที่พรรค AKP ของเออโดกันชนะครั้งแรก ชาวอิหร่านก็ดีใจไปด้วยในฐานะที่พรรคเน้นอิสลามมีชัยเหนือระบอบทหารเซ็กคิวลาร์ laïcité วิถีเคมาลิซึ่ม
ช่วงที่เรือมาวี มาร์มาร่า ของตุรกี (ซึ่งบรรทุกอาหารและหยูกยาเวชภัณฑ์ไปพร้อมกับนักกิจกรรมจากหลายชาติเพื่อช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ที่ฉนวนกาซ่า) ถูกจู่โจมโดยอิสราเอล (อันเป็นเหตุให้ตุรกีระงับความสัมพันธ์ชั่วคราวกับอิสราเอล) ในตอนนั้น ผู้นำอิหร่านก็ให้การยกย่องความกล้าหาญของนักกิจกรรมตุรกี และพร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่
ความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างอิหร่านกับตุรก็เพิ่งจะจางลง เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ในซีเรียนี่แหล่ะครับ ทั้งนี้สาเหตุหลักอาจมาจากการบริหารนโยบายต่างประเทศที่ผิดพลาดของอดีต รมว.ต่างประเทศและอดีตนายกฯ นายอะห์เหม็ด ดาวูโตกลู ที่ต้องการโค่นรัฐบาลซีเรีย เพื่อหวังจะมีอิทธิพลเหนืออาเลปโปในฐานะช่วงลึกทางยุทธศาสตร์ (Strategic depth) เอาไว้กันรัฐอิสระของเคิร์ด
แต่เมื่อไม่นานมานี้ เออโดกันก็ตระหนักถึงความผิดพลาดต่อฝ่ายรัสเซียและพันธมิตร จึงเปลี่ยนตัวเป็นนายบีนาลี ยิลดริม ที่ค่อนข้างว่านอนสอนง่ายมากกว่า ขึ้นมาเป็นนายกแทน ขณะที่ยอมขอโทษรัสเซียกรณียิงเครื่องบิน และให้นายกฯ คนใหม่เผยว่าพร้อมจะเชื่อมสัมพันธ์กับซีเรีย และกระชับมิตรเชิงยุทธศาสตร์ภูมิภาคกับอิหร่าน
สรุปคือ รากฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนานระหว่างตุรกีกับอิหร่าน ลึกซึ้งเกินกว่ามะกันและตะวันตกจะเข้าใจ การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิหร่านโดยมองข้ามปัจจัยรองอย่างประเด็นซุนหนี่ชีอะห์ จะมีประโยชน์ต่อทั้งภูมิภาคโดยรวม
ป.ล. กุเลน ซึ่งเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของตุรกีในขณะนี้ เกลียดอิหร่านเข้าใส้เหมือนกัน ฉะนั้น อิหร่านย่อมจะไม่ยุ่งเรื่องการปราบกลุ่มกุเลนอย่างแน่นอน เหมือนที่ EU พยายามล้วงลูกและข่มขู่ตุรกีต่าง ๆ นานา
ฉนั้นสำนวน ใกล้เกลืออย่ากินด่าง... ตุรกีเริ่มตระหนักแล้ว!!